วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เห็นตัวเองผ่านคนอื่น

เห็นตัวเองผ่านคนอื่น

dungtrin_new2
คุณไม่มีทางรู้ว่าในมุมมองของคนอื่น
ตัวคุณเป็นอย่างไร
จนกว่าจะเจอใครสักคนที่คล้ายกัน
และทำให้คุณพอใจหรือไม่พอใจอย่างแรง
คนเหมือนคุณเป๊ะหายาก แต่คนทำอะไรๆคล้ายคุณหาง่าย
ยิ่งถ้าเป็นคนที่ทำอะไรแบบเดียวกับที่คุณตัดสินใจทำตอนอยากได้มากๆ
หรือตอนกำลังโมโหโกรธาจัดๆ
ก็ดูเหมือนจะพบเจอได้ทั่วไปที่โน่นที่นี่
กว่าจะเข้าใจเหตุผลว่าคนอื่นชอบหรือไม่ชอบ
ยอมรับหรือไม่ยอมรับการกระทำแบบไหน
อยากอยู่ด้วยหรืออยากออกห่างคุณ
บางทีก็ต้องเจอคนทำแบบเดียวกันกับคุณ
ถึงจะย้อนไปนึกออกว่าเวลาเราทำกับคนอื่นเขารู้สึกอย่างไร
พระพุทธเจ้าตรัสว่าอยากให้ใครดีมา
ก็ให้ดีกับเขาก่อน
แม้คุณจะนึกเถียงในใจว่า
ดีอย่างไรมันก็ร้ายมาอยู่วันยังค่ำ
แต่ที่สุดแล้วเมื่อดีกับคนมากพอ
ยืนหยัดกับตัวตนเดิมนานพอ
ความพร้อมจะดีกับใครๆจริงๆ
ก็เข้มข้นพอจะผ่อนหนักให้เป็นเบา
หรือเปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดีได้
ถึงตรงนั้นจะรู้ว่าพระพุทธเจ้า
ไม่ได้สอนให้ดีครั้งเดียวแล้วได้รับผลตอบแทนดีๆกลับมาตลอดไป
ท่านให้ดีตลอดไป แล้วค่อยหวังจะรับผลดีได้นานๆครับ
ดังตฤณ
ตุลาคม ๕๕

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง



การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง

        ศรัทธา ในกระบวนการพัฒนาตามหลักพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความเชื่อมั่น การซาบซึ้ง ความมั่นใจเหตุเท่าที่ตนสามารถพิจารณาเห็นได้ โดยมีเหตุผลว่า จุดหมายหรือเป้าหมายที่อยู่ข้างหน้านั้นเป็นไปได้จริง และมีคุณค่าควรที่จะไปให้ถึง ศรัทธาจึงเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่ปัญญาหรือความรู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับศรัทธาที่เป็นแบบ มอบตัว มอบความไว้วางใจให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่คิดหาเหตุผล ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา แบ่งออกเป็น 3 ประการ
       1. เชื่อมั่นในความดีงามของมนุษย์ หมายถึง เชื่อว่าความดีงามนั้งมนุษย์สามารถสร้างขึ้นเองได้ ด้วยความพากเพียร ไม่ใช่จากสิ่งศักดิ์สิทธิ
       2. เชื่อมั่นในกฎแห่งการกระทำและผลของการกระทำ หมายถึง เชื่อมั่นว่าไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆโดยไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด เมื่อมีการกระทำใดๆลงไปย่อมมีผลของการกระทำนั้นๆ
       3. เชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการกระทำนั้น ข้อนี้สืบเนื่องมาจากข้อ 1 และ 2 จะทำให้คนมีความละเอียดรอบคอบ ในการการกระทำของตนเอง เพราะเมื่อทำอะไรลงไปแล้วต้องได้รับผลการการกระทำนั้นไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

       ปัญญา หมายถึง ความรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ความรู้มีอยู่ 2 ประเภท คือ ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิด (สหชาติปัญญา) เป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนพึงมี มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่บุคคล บางคนก็มีความรู้พิเศษที่คนอื่นไม่มีซึ่งคนอื่นไม่มีภาษาไทยเรียกว่า พรสวรรค์ เช่นสามารถภาพได้งดงาม ทั้งๆที่ไม่เคยเรียนมาเลย และความรู้ที่มีขึ้นด้วยการศึกษา (โยคปัญญา) คือความรู้ที่แสวงหาเอาภายหลัง ดังคำที่ว่า “ปัญญามีได้เพราะการฝึกฝนพัฒนา ปัญญาเสื่อมไปเพราะไม่มีการฝึกฝนพัฒนา” และความรู้ประการหลังนี่เองที่ต้องการเน้นให้ได้ศึกษา ปัญญาที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนา มีลักษณะ 3 ประการ คือ
       1. ความรู้จักเหตุแต่ความเสื่อมและโทษของความเสื่อม (อปายโกศล) หมายถึง รู้ว่าอะไรคือความเสื่อม และอะไรคือเหตุทำให้เกิดความเสื่อม
       2. ความรู้จักเหตุแห่งความเจริญและประโยชน์ของความเจริญ (อายโกศล) หมายถึง รู้ว่าอะไรคือความดี ความเจริญที่แท้และก็รู้ด้วยว่าอะไรคือสาเหตุให้เกิดความดีความเจริญนั้น
       3. ความรู้จักวิธีการละเหตุความเสื่อมและวิธีการสร้างเหตุแห่งความเจริญ (อุปายโกศล) หมายถึง รู้ทั้งสองด้านคือรู้แบบครบวงจร(ข้อ 1 และ ข้อ 2)
จากการที่พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนให้ได้ใช้สติปัญญาความคิดเห็นของตนพิจารณาอย่างเต็มที่ก่อนแล้ว จึงค่อยเชื่อ