วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยา

1.  พุทธจริยา หมายถึงอะไร
       พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ 3 ประการ ได้แก่ โลกัตถจริยา  ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา

2. โลกัตถจริยา หมายถึงอะไร

       พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ 3 ประการ ได้แก่ โลกัตถจริยา  ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา
             
3.  ตางรางพุทธกิจ 5 ประการ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
    1. พุทธกิจภาคเช้า คือ การออกบิณฑบาตและแสดงธรรมโปรดสรรพสัตว์                                             
    2. พุทธกิจภาคบ่าย คือ การแสดงธรรมโปรดประชาชน
    3. พุทธกิจยามที่ 1 ของราตรี คือ ประทานโอวาทและตอบปัญหาให้กรรมฐาน
แก่พระสงฆ์
                         
    4. พุทธกิจยามที่ 2 ของราตรี คือ ทรงตอบปัญหาให้แก่เทวดาที่มาขอเฝ้า
    5. พุทธกิจยามที่ 3 ของราตรี คือ ทรงพิจารณาสอดส่องเลือกสรรว่า วันต่อไปมีบุคคลใดบ้างที่ควรเสด็จไปโปรด

4.  พุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญในข้อญาตัตถจริยา ได้แก่อะไรบ้าง
        การที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติ  เช่น เมื่อครั้งที่เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงแนะนำให้พระญาติที่กำลังจะทำสงครามแย่งชิงน้ำในแม่น้ำโรหิณีได้เข้าใจเหตุผล จนสามารถปรองดองกันได้ เป็นต้น

การบริหารและธำรงรักษาพระพุทธศาสนา
ระยะเริ่มแรก  
      การบริหารยังคงขึ้นอยู่กับพระพุทธเจ้าโดยตรง ทรงมอบหมายให้พระเถระรับผิดชอบงานตามความรู้ความสามารถ

ระยะสอง  
      เมื่อพระสงฆ์เพิ่มขึ้น พระพุทธเจ้าได้ทรงมอบหมายให้พระอุปัชฌาย์เป็นผู้รับผิดชอบดูแลบนพื้นฐานความเห็นชอบของสงฆ์
ระยะสาม  
      เมื่อมีผู้เข้ามาบวชเพิ่มมากขึ้นและกระจายไปอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ การอยู่ร่วมกันในอารามจึงต้องมีผู้บริหารดูแล ได้แก่ เจ้าอาวาสและคณาจารย์ เป็นผู้รับผิดชอบให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในอารามนั้นๆ 
     
ระยะสี่  
     เมื่อพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายเข้าไปยังดินแดนหรือประเทศต่างๆ รูปแบบการบริหารก็จะมีเจ้าอาวาสเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีพระธรรมวินัยเป็นหลักในการบริหาร

ความสำคัญของพุทธบริษัทกับการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา
พุทธบริษัท ถือเป็นกำลังใจสำคัญในการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ได้ โดยการศึกษา         พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติตนและเป็นแบบอย่างอันดีโดยยึดมั่นในหลักธรรม 

ของพระพุทธศาสนา ตลอดจนการร่วมปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้ถูกย่ำยีจากคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

และผู้ที่ประสงค์ร้าย คอยมุ่งโจมตีพระพุทธศาสนา เหล่านี้เป็นของพุทธบริษัทพึงกระทำ เพื่อจรรโลงและรักษาพระพุทธศาสนา
.............................................................................................
ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ เช่นการทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษ ให้พรญาติของพระองค์ ที่เป็นเดียรถีย์ (นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา) มาก่อน ให้เข้าบวชในพรุพุทธศาสนาได้ โดยไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อน (ติตถิยปริวาส คือ วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาส (การอยู่ชดใช้หรืออยู่กรรม) ก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจจึงจะอุปสมาบทได้) หรือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแนะนำให้พระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามกันได้เข้าใจในเหตุผล สามารถปรองดองกันได้
 พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า เช่น ทรงวางสิกขาบทเป็นพุทธอาณา สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ของตน ทรงวางพระองค์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชและแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ในฐานะของบิดากับบุตร ผู้ปกครองกัลยาณมิตร ศาสดาผู้เอ็นดูเป็นต้น ตามสมควรแก่บุคคลและโอกาสนั้น ๆ จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนาสืบต่อกันมาได้
.......................................................................................................................................................
อ้างอิง     http://www.dhammathai.org/buddha/g51.php

วิเคราะห์พระพุทธเจ้าในฐานะมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด/วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์
               พระพุทธเจ้าทรงมองว่ามนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ด้วยแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงเน้นย้ำให้มนุษย์พัฒนาศักยภาพคุณความดี ความรู้ และความสามารถของตนเองอยู่เสมอ

มนุษย์ประเสริฐสูงสุดได้ด้วยการฝึก
               มนุษย์เป็นสัตว์ที่สามารถฝึกได้ และจำเป็นต้องฝึกอยู่เสมอ เพราะความประเสริฐของมนุษย์อยู่ที่การฝึกฝนอบรม และพัฒนาตนเอง

พระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างของมนุษย์ผู้ใช้ความเพียรเพื่อความดีงาม
               การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถือเป็นเครื่องหมายแห่งความสำเร็จในความเพียรพยายามและการใช้สติปัญญาของพระพุทธเจ้า    แม้การตรัสรู้จะมิใช่เรื่องที่กระทำได้โดยง่ายในมนุษย์ปุถุชน     แต่แบบอย่างที่ดีของพระพุทธเจ้า ก็คือ  การแสดงออกถึงความเพียรพยายาม การใช้สติปัญญา        และความอดทนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงออกให้ได้เห็น
พระพุทธเจ้าจำแนกมนุษย์เป็นบัว 4 เหล่า

วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า
         วิธีการสอน
วิธีสอนแบบบรรยาย
วิธีสอนแบบตอบปัญหา
วิธีสอนแบบวางกฎข้อบังคับ
วิธีสอนแบบธรรมสากัจฉา หรือวิธีสอนแบบสนทนา


          เทคนิคการสอน
มีการลงโทษและการให้รางวัล
แปลงนามให้เป็นรูปธรรม
ใช้อุบายเลือกสอน
มีความยืดหยุ่นในวิธีการสอน
วางพระองค์เป็นแบบอย่าง

สังเวชนียสถาน 4

สวนลุมพินีวัน  สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
          สังเวชนียสถาน 4 แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช คือ เป็นสถานที่ทำให้เกิดความระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่นเบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะกระทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ สำหรับสังเวชนียสถานที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ อินเดีย ได้แก่

สถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ที่สวนลุมพินีวัน อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อนในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์ กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่า พระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้      
พุทธคยา  สถานที่ตรัสรู้

สถานที่ตรัสรู้  ตั้งอยู่ที่พุทธคยา ทางด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือ องค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น

ธรรมเมกขสถูป  สถานที่ปฐมเทศนา
สถานที่แสดงปฐมเทศนา ตั้งอยู่ที่อิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี (ปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ) ภายในสถานที่แห่งนี้มี ธรรมเมกขสถูป ซึ่งเป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด สันนิษฐานว่าบริเวณที่ตั้งของธรรมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระสัจธรรมเป็นครั้งแรก ณ สถานที่แห่งนี้

  สถานที่ปรินิพพาน ตั้งอยู่ที่กุสินารา ซึ่งในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกของแคว้นมัลละ และยังเป็นที่ตั้งของสาลวโนทยานและมกุฎพันธเจดีย์ อันเป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานและถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า 
ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือ สถูปใหญ่ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย
สถานที่ปรินิพพาน ตั้งอยู่ที่กุสินารา

..............................................................................................................................................................................................
อ้างอิง

http://www.panyathai.or.th/wiki/jndex

ตัวอย่าง การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์

เปรียบเทียบและอธิบายหลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์
ด้านความเชื่อ

   พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีหลักการด้านความเชื่อ
ดังปรากฏอยู่ใน กาลามสูตร ซึ่งพระพุทธ-เจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่ออย่างงมงายไร้เหตุผล 

 พระพุทธเจ้าแทนที่จะตรัสเหมือนกับสมณพราหมณ์เหล่าอื่นที่เคยพูดมาแล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงสรรเสริญคำสอนของพระองค์ และก็ไม่ทรงติเตียนคำสอนศาสนาของผู้อื่นแต่พระองค์กลับตรัสอีกแบบหนึ่ง การพูดแบบนี้เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คือพระองค์ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการโดยตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงฟัง

   มา อนุสฺสวเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
   มา ปรมฺปราย  อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆกันมา
   มา อิติกิราย   อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
   มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์  หรือตำรา
   มา ตกฺกเหตุ  อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
   มา นยเหตุ   อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
   มา อาการปริวิตกฺเกน  อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
   มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา  อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
   มา ภพฺพรูปตา  อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
   มา สมโณ โน ครูติ  อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

  สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการนี้      
                              
   วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์จะเชื่อเรื่องใดจะต้องมีการพิสูจน์ความจริงโดยใช้การทดลองและทุกอย่างจะต้องดำเนินไปอย่างมีกฎเกณฑ์และมีเหตุผลเป็นตัวตัดสินใจโดยอาศัยปัญญาในการพิจารณา

ด้านความรู้

   พระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์ที่ได้เห็น คือ ความเจ็บ ความแก่ และความตาย ซึ่งล้วนแต่ทุกข์พระองค์ทรงทดลองโดยอาศัยประสบ-การณ์ของพระองค์ จนในที่สุดพระองค์ก็ทรงสามารถค้นพบหลักความจริงอันเป็นหนทาง
ที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์

  วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ยอมรับความรู้จากประสบการณ์ ซึ่งมีการพิสูจน์โดยผ่านตา หู จมูก  ลิ้น  กาย  และใจ          

ด้านความแตกต่าง

  พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเน้นการแสวงหาความจริงภายใน คือ ความจริงด้านจิตใจที่มุ่งให้มนุษย์สามารถพัฒนาจิตใจของตนให้หลุดพ้นจากกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง
  วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการแสวงหาความจริงภายนอกด้านวัตถุเป็นสำคัญ



                             
    
 หมายเหตุ ขอขอบพระคุณภาพจาก google

ประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

ประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา คำชี้แจง อ่านกรณีตัวอย่างที่ยกมาให้ แล้วอธิบายว่าเป็นลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนาหรือไม่ เพราะเหตุใด

หลวงพี่โหน่งบอกหลวงพี่เท่งว่าวันนี้ตนจะไม่ลงอุโบสถทำสังฆกรรม เพราะเพลียจากการเดินบิณฑบาตในตอนเช้า
ไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตย  เพราะการลง         
อุโบสถทำสังฆกรรมถือเป็นกิจกรรมที่พระสงฆ์   ทุกรูปจะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญ

ที่ประชุมคณะสงฆ์วัดดอนศรีสะอาด มีมติเป็นเอกฉันท์ให้หลวงพ่อทองได้รับผ้ากฐิน ในงานทอดกฐินประจำปี 2552
ถือเป็นประชาธิปไตย
เมื่อเกิดความเห็นแตกเป็นสองฝ่ายในคณะสงฆ์จะมีการตัดสินโดยถือเอาเสียงข้างมากเป็นข้อยุติ   ที่เรียกว่า เยภุยยสิกา
ถือเป็นประชาธิปไตย
พระภิกษุสงฆ์ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมประชุมในการเตรียมงานประจำปีของวัด จะต้องเป็นพระที่มีพรรษาเกินกว่า 10 ปีเท่านั้น พระที่บวชใหม่หรือมีพรรษาน้อยไม่มีสิทธิ์เข้าประชุมในครั้งนี้
ไม่ถือว่าเป็นประชาธิปไตย เพราะพระภิกษุ      
ทุกรูปมีสิทธิ์เข้าร่วมประชุม และมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทั้งที่เห็นด้วยและคัดค้าน
พระภิกษุสงฆ์มีความเท่าเทียมกันและต้องเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือ ถือตามลำดับการอุปสมบทก่อนหลังและไม่ถือว่ามาจากชนชั้นใด
ถือเป็นประชาธิปไตย