ด้านความเชื่อ
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนามีหลักการด้านความเชื่อ
ดังปรากฏอยู่ใน กาลามสูตร ซึ่งพระพุทธ-เจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่ออย่างงมงายไร้เหตุผล
พระพุทธเจ้าแทนที่จะตรัสเหมือนกับสมณพราหมณ์เหล่าอื่นที่เคยพูดมาแล้ว พระองค์ไม่ได้ทรงสรรเสริญคำสอนของพระองค์ และก็ไม่ทรงติเตียนคำสอนศาสนาของผู้อื่นแต่พระองค์กลับตรัสอีกแบบหนึ่ง การพูดแบบนี้เป็นลักษณะของวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน คือพระองค์ได้กล่าวถึงสิ่งที่ไม่ควรเชื่อ 10 ประการโดยตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงฟัง
มา อนุสฺสวเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
มา ปรมฺปราย อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆกันมา
มา อิติกิราย อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
มา ปิฏกสมฺปทาเนน อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์ หรือตำรา
มา ตกฺกเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
มา นยเหตุ อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
มา ภพฺพรูปตา อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
มา สมโณ โน ครูติ อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
สรุปแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่าเพิ่งเชื่อ เพราะเหตุ 10 ประการนี้
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์จะเชื่อเรื่องใดจะต้องมีการพิสูจน์ความจริงโดยใช้การทดลองและทุกอย่างจะต้องดำเนินไปอย่างมีกฎเกณฑ์และมีเหตุผลเป็นตัวตัดสินใจโดยอาศัยปัญญาในการพิจารณา
ด้านความรู้
พระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์ที่ได้เห็น คือ
ความเจ็บ ความแก่ และความตาย
ซึ่งล้วนแต่ทุกข์พระองค์ทรงทดลองโดยอาศัยประสบ-การณ์ของพระองค์
จนในที่สุดพระองค์ก็ทรงสามารถค้นพบหลักความจริงอันเป็นหนทาง
ที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์
ที่จะหลุดพ้นจากความทุกข์
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ยอมรับความรู้จากประสบการณ์
ซึ่งมีการพิสูจน์โดยผ่านตา หู จมูก ลิ้น
กาย และใจ
ด้านความแตกต่าง
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเน้นการแสวงหาความจริงภายใน คือ ความจริงด้านจิตใจที่มุ่งให้มนุษย์สามารถพัฒนาจิตใจของตนให้หลุดพ้นจากกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์มุ่งเน้นการแสวงหาความจริงภายนอกด้านวัตถุเป็นสำคัญ
หมายเหตุ ขอขอบพระคุณภาพจาก google
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น