วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยา

1.  พุทธจริยา หมายถึงอะไร
       พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ 3 ประการ ได้แก่ โลกัตถจริยา  ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา

2. โลกัตถจริยา หมายถึงอะไร

       พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ 3 ประการ ได้แก่ โลกัตถจริยา  ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา
             
3.  ตางรางพุทธกิจ 5 ประการ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
    1. พุทธกิจภาคเช้า คือ การออกบิณฑบาตและแสดงธรรมโปรดสรรพสัตว์                                             
    2. พุทธกิจภาคบ่าย คือ การแสดงธรรมโปรดประชาชน
    3. พุทธกิจยามที่ 1 ของราตรี คือ ประทานโอวาทและตอบปัญหาให้กรรมฐาน
แก่พระสงฆ์
                         
    4. พุทธกิจยามที่ 2 ของราตรี คือ ทรงตอบปัญหาให้แก่เทวดาที่มาขอเฝ้า
    5. พุทธกิจยามที่ 3 ของราตรี คือ ทรงพิจารณาสอดส่องเลือกสรรว่า วันต่อไปมีบุคคลใดบ้างที่ควรเสด็จไปโปรด

4.  พุทธจริยาที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญในข้อญาตัตถจริยา ได้แก่อะไรบ้าง
        การที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติ  เช่น เมื่อครั้งที่เสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ทรงแนะนำให้พระญาติที่กำลังจะทำสงครามแย่งชิงน้ำในแม่น้ำโรหิณีได้เข้าใจเหตุผล จนสามารถปรองดองกันได้ เป็นต้น

การบริหารและธำรงรักษาพระพุทธศาสนา
ระยะเริ่มแรก  
      การบริหารยังคงขึ้นอยู่กับพระพุทธเจ้าโดยตรง ทรงมอบหมายให้พระเถระรับผิดชอบงานตามความรู้ความสามารถ

ระยะสอง  
      เมื่อพระสงฆ์เพิ่มขึ้น พระพุทธเจ้าได้ทรงมอบหมายให้พระอุปัชฌาย์เป็นผู้รับผิดชอบดูแลบนพื้นฐานความเห็นชอบของสงฆ์
ระยะสาม  
      เมื่อมีผู้เข้ามาบวชเพิ่มมากขึ้นและกระจายไปอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ การอยู่ร่วมกันในอารามจึงต้องมีผู้บริหารดูแล ได้แก่ เจ้าอาวาสและคณาจารย์ เป็นผู้รับผิดชอบให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในอารามนั้นๆ 
     
ระยะสี่  
     เมื่อพระพุทธศาสนาได้แผ่ขยายเข้าไปยังดินแดนหรือประเทศต่างๆ รูปแบบการบริหารก็จะมีเจ้าอาวาสเป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีพระธรรมวินัยเป็นหลักในการบริหาร

ความสำคัญของพุทธบริษัทกับการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา
พุทธบริษัท ถือเป็นกำลังใจสำคัญในการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ได้ โดยการศึกษา         พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติตนและเป็นแบบอย่างอันดีโดยยึดมั่นในหลักธรรม 

ของพระพุทธศาสนา ตลอดจนการร่วมปกป้องพระพุทธศาสนาไม่ให้ถูกย่ำยีจากคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์

และผู้ที่ประสงค์ร้าย คอยมุ่งโจมตีพระพุทธศาสนา เหล่านี้เป็นของพุทธบริษัทพึงกระทำ เพื่อจรรโลงและรักษาพระพุทธศาสนา
.............................................................................................
ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ เช่นการทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษ ให้พรญาติของพระองค์ ที่เป็นเดียรถีย์ (นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา) มาก่อน ให้เข้าบวชในพรุพุทธศาสนาได้ โดยไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อน (ติตถิยปริวาส คือ วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาส (การอยู่ชดใช้หรืออยู่กรรม) ก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจจึงจะอุปสมาบทได้) หรือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแนะนำให้พระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามกันได้เข้าใจในเหตุผล สามารถปรองดองกันได้
 พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า เช่น ทรงวางสิกขาบทเป็นพุทธอาณา สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ของตน ทรงวางพระองค์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชและแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ในฐานะของบิดากับบุตร ผู้ปกครองกัลยาณมิตร ศาสดาผู้เอ็นดูเป็นต้น ตามสมควรแก่บุคคลและโอกาสนั้น ๆ จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนาสืบต่อกันมาได้
.......................................................................................................................................................
อ้างอิง     http://www.dhammathai.org/buddha/g51.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น